ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับมาดามรถถังที่ส่งออกรถถังมากกว่า 37 ประเทศทั่วโลกซึ่งนั่นก็คือคุณ นพรัตน์ กุลหิรัญ ที่เป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท ชัยเสรีเม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด ที่ผลิตชิ้นส่วนยางติดเหล็กและข้อต่อสายพานระบบสายพานให้กับกองทัพไทยและต่างประเทศโรงงานนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 140,000 ตารางเมตรในจังหวัดปทุมธานีและที่ตั้งของโรงงานและมีขนาดใหญ่ 26 หลังทั้งประกอบ โรงทดสอบเครื่องยนต์ โรงผลิตอุปกรณ์ โรงกลึง โรงพ่นทราย และโรงเก็บอะไหล่ มากมายเลยทีเดียว
โดยคุณนพรัตน์ก็ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวชีวิตก่อนที่จะมาถึงในจุดนี้ว่าตัวเองนั้นมีพ่อแม่ที่เป็นชาวจีนอพยพมาจากเมืองจีนแล้วเธอก็เป็นลูกสาวคนที่ 7 ของครอบครัวและครอบครัวของเธอนั้นมีพี่น้องประมาณ 12 คนและเธอเติบโตที่บริเวณถนนทรงวาดใกล้กับศาลเจ้าเซียงกงย่านเยาวราชจังหวัดกรุงเทพ ..โดยสมัยก่อนธุรกิจครอบครัวของเธอนั้นก็คือการค้าเหล็กและโซ่และเครื่องยนต์เก่าภายใต้ชื่อร้านว่า ‘ตั้งจุ้นฮวด’ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สืบทอดมาจากรุ่นคุณปู่ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2400และด้วยความที่คุณ พ่อของคุณนพรัตน์เป็นคนติดอ่างจึงทำให้มีปัญหาและพลาดโอกาสทุกครั้งเวลาที่ไปร่วมประมูลเศษเหล็กที่คลองถม จึงทำให้คุณนพรัตน์ในวัยเด็ก10ขวบ ที่ถูกคุณพ่อสั่งสอนมาตั้งแต่เด็กว่าเกิดเป็นผู้หญิงต้องทำให้ได้ทุกอย่างอย่าให้ใครดูถูกจึงต้องออกโรงแข่งขันแทนคุณพ่อตั้งแต่วัยนั้น
“พ่อเป็นคนติดอ่าง พูดก็ช้า แต่ใจดี เวลาไปสู้ ต้องตะโกนแข่งกัน 20 ตังค์ 50 ตังค์ ตีฆ้องเป๊งๆ โอเคเจ้านี้เอาไปพ่อเราสู้เขาไม่ได้ เราเห็นแล้วอึดอัดใจ วันหนึ่งเอ่ยปากถามพ่อ พ่อจะเอากองไหน ‘เอากองนี้ แต่สงสัยพ่อจะพูดไม่ทันเขา เรารู้อย่างนั้นจัดการล็อบบี้เลย วิ่งบอกทุกคน เดี๋ยวสู้กันนะ ถึงราคาที่พ่อเราต้องการ ขอให้พวกท่านทั้งหลายหยุดก่อน เปิดโอกาสให้พ่อฉันพูดบ้าง ทุกคนทำหน้างงๆ แต่ก็รับฟังบอกเออๆ เดี๋ยวหยุดให้ สุดท้ายพ่อเราก็พูดและชนะ ได้โซ่ขนขึ้นรถกระบะไม้กลับบ้านสักที” และคุณนพรัตน์ก็ได้สั่งสมประสบการณ์จากการคลุกคลีอยู่ในกับวงการเหล็กตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการประมูล จนกระทั่งทำความสะอาดเศษเหล็กและดัดแปลง โดยทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เธอเรียนรู้และเธอก็อยู่ในวงการอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเหล็กแทบทั้งสิ้น ซึ่งทุกคนนั้นก็มักจะบอกว่าคุณนพรัตน์เป็นอาหมวยที่พูดเก่งเป็นอย่างมากเวลามางานประมูลทีไรก็มีของกินมาให้ตลอด แถมยังคอยเสิร์ฟน้ำเสิร์ฟถ้าใ ห้และคุณนพรัตน์เองก็จะชอบไปขอกองเหล็ก ต่างๆ จึงทำให้ที่บ้านสามารถได้งานมาเรื่อยๆและในตอนเด็กก็จะไม่ค่อยไปไหนอยู่แต่ที่ทำงานที่บ้านไปคุยกับคนนั้นคนนี้นั่งดูพ่อเชื่อมเหล็ก อ๊อกเหล็ก และถามนั่นนี่มาโดยตลอด
และนอกจากเรื่องเหล็กที่เธอให้ความสนใจแล้วเรื่องภาษาเธอก็สนใจมากด้วยเช่นกันโดยแรงบันดาลใจนั้นเธอเริ่มเห็นมาจากที่คุณพ่อ แปลและนั่งเขียนจดหมายภาษาจีนเพื่อช่วยเหลือคนอื่น โดยในอดีตแต่ก่อนนั้นคนจีนมาจะเข้ามาทำงานในเมืองไทยและทิ้งลูกทิ้งเมียญาติพี่น้องไว้ที่บ้านเกิด เมื่อคิดถึงก็มักจะส่งจดหมายกับไปหาและด้วยความที่คุณพ่อเป็นคนที่เขียนหนังสือเก่งมาก จึงรับหน้าที่ช่วยเหลือและถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆผ่านน้ำหมึกส่งต่อให้กับคนอื่น ..
โดยคุณพ่อของคุณนพรัตน์ คอยสั่งสอนลูกเสมอว่าเกิดเป็นมนุษย์ก็ต้องพึ่งพาคนอื่นมีโอกาสและความสามารถก็อย่านิ่งนอนใจที่จะให้ความช่วยเหลือเขา แต่อย่าหวังพึ่งคนอื่นมากจนเกินไป จนทำให้เขานั้นหยามเรา รบกวนให้น้อยมากที่สุดและต้องรู้จักบุญคุณคนและ เกิดเป็นหญิงอยู่กับพ่อแม่ไม่นาน ก็ต้องไปแต่งงาน สิ่งที่พ่อมอบให้ที่สุดนั้นก็คือการศึกษาที่ลูกสาวจะต้องใฝ่รู้และศึกษาเพื่อสามารถสร้างอาชีพที่ดีในอนาคตด้วยลำแข้งของตัวเอง
“พ่อมีลูกทั้งหมด 12 คน ลูกชาย 5 คน ผู้หญิง 7 คน พ่อบอกว่า ผู้ชายจะได้รับสมบัติ พวกเธอไม่ได้รับหรอก อย่าหวังอะไรจากพ่อแม่ ต้องช่วยเหลือตัวเอง เกิดเป็นลูกสาว เมื่อถึงเวลาไปอยู่บ้านคนอื่น อย่าให้ใครเขาดูถูก อย่าไปพึ่งพาเขา หัดฝึกฝนและทำให้ตัวเองมีคุณค่า”
ซึ่งเรียกได้ว่าาความสามารถของคุณนพรัตน์นั้น เกิดจากการปลูกฝังของคนเป็นพ่อมาโดยเสมอ โดยเธอนั้นได้เริ่มเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ และเริ่มเรียนศึกษาภาษาอังกฤษ และฝึกฝนงานฝีมือต่างๆและหลังจากที่เรียนจบมาคุณพ่อก็เห็นว่าเป็นคนพูดเก่งชอบคบค้าสมาคมจึงแนะนำให้เรียนต่อทางด้านภาษา
และในต่อมาเธอก็ได้เรียนต่อระดับชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ทางด้านเอกภาษาฝรั่งเศสและระดับอุดมศึกษาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่สวนกระแสนิยมในสังคมยุคนั้นเป็นอย่างมากโดยเด็กเรียนดีมักจะเลือกเรียนที่จุฬาฯหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และชีวิตนักศึกษาของคุณนพรัตน์ก็มีความสุขมากและเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ทั้งค่ายอาสาชนบทและชายแดนเดินขบวนทำกิจกรรมกับเพื่อน ต่อต้านประเด็นสังคมทางการเมืองและเศรษฐกิจ และด้วยความสามารถทางด้านภาษาและในช่วงสงครามเวียดนามก็ได้มีโอกาสจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง สหประชาชาติ ให้คุณนพรัตน์นั้นมาเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศสและครูสอนภาษาไทยให้กับค่ายผู้ที่อพยพเข้ามาในค่ายคลองลึกอำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้วโดยแลกเงินวันละ 20 เหรียญจนกระทั่งถูกโรคระบาดในค่ายเล่นงานจึงทำให้ต้องกลับบ้าน
โดยในตอนนั้นคุณนพรัตน์จะได้กลับมาเรียนหนังสือและยังแบ่งเวลามาสอนภาษาไทยให้กับชาวจีนที่วัด สามปลื้มและวัดไตรมิตรจนกระทั่งเรียนจบในชั้นระดับปริญญาตรีและสอบบรรจุคุณครูของโรงเรียนยานนาเวศได้ประมาณ 5 เดือนก่อนที่ตัดสินใจย้ายไปเป็นครูโรงเรียนเก่าของตัวเองที่อัสสัมชัญคอนแวนต์และสอนวิชาภูมิศาสตร์ “ชีวิตมีความสุขมาก แฮปปี้เหลือเกิน สอนเด็กๆ พอเลิกเรียนก็ไปสอนศึกษาผู้ใหญ่ที่วัด ไม่เคยรู้สึกเหนื่อยเลย”
แต่ตอนนั้นความสุขของคุณครูอย่างคุณนพรัตน์ก็ต้องจบลงเมื่อคุณพ่อของเธอเกรงว่าเธอนั้นจะเลือกเส้นทางหลบหนีเข้าป่าตามรอยกลุ่มเพื่อนที่ทำกิจกรรมค่ายอาสาและเดินขบวนทางการเมืองจึงตัดสินใจจะให้เธอแต่งงานในที่สุด
ด้วยเธอนั้นแต่งงานในวัยอายุ 26 ปีกับคุณ “หิรัญ กุลหิรัญ” ที่เป็นเจ้าของกิจการซ่อมรถและดัดแปลงเครื่องยนต์ โดยชีวิตแต่งงานนั้นเริ่มต้นด้วยความทุกข์และต้องย้ายเข้าไปอยู่ที่บ้านสามีและแม่สามีนั้นเข้มงวดกับเธอมาก จนเธอนั้นไม่มีความสุขซึ่งแตกต่างกับชีวิตเมื่อก่อนอันแสนอิสระและยังต้องออกคำสั่งให้เธอลาออกจากการเป็นครูด้วย
โดยคุณแม่สามีของเธอนั้นสูงมากกับบ้านต้องขออนุญาตถ้าไปไม่บอกกลับมาก็จะถูกตีและยังสั่งให้เลิกเป็นครู โดยในจุดนี้จึงทำให้คุณนพรัตน์เดินทางกลับมาบ้านเพื่อปรึกษาคุณพ่อถามถึงคนทางแห่งความร่ำรวยและมั่งคั่งและยั่งยืนโดย คำแนะนำที่เธอได้รับนั้นกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างธุรกิจพันล้านนั่นเอง
“พ่อบอกว่า ถ้าเธอมัวแต่จับปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา ปลามันมีจำกัด ต้องแย่งกัน นับวันก็มีแต่น้อยลง ถ้าเธออยากให้ยั่งยืน จับได้เยอะๆ ต้องต่อเรือไปจับปลาในทะเลหลวง เธอจะจับปลาได้ไม่รู้สิ้น”
โดยสิ่งที่พ่อของเธอพูดนั้นอาจจะทำให้หลายคนนั้นสงสัย แต่คุณนพรัตน์ก็สามารถเข้าใจในสิ่งที่พ่อบอกทันทีจึงกลับมาคุยกับสามี โดยระหว่างนั้นก็เริ่มทำการติดต่อการค้ากับกองทัพไว้เดินเป็นลักษณะของเอเย่นจัดหาอุปกรณ์เครื่องยนต์รวมถึงซ่อมบำรุงช่วงล่างให้กับรถบรรทุก
ซึ่งก็ประจวบเหมาะกับที่ช่วงเวลาสงครามโลกเวียดนามสิ้นสุดลงจึงทำให้กองทัพอเมริกาได้ถอนฐานทัพและทิ้งอาวุธต่างๆไว้มากมายในประเทศเวียดนามเขมรและลาว จึงทำให้สามีของคุณนพรัตน์ได้ทำการติดต่อกับกองทัพเพื่อขอซื้อสิ่งเหล่านี้กลับมายังประเทศไทยส่งผลให้โรงงานชัยเสรีมีอะไรจำนวนมากและเพียงพอต่อความต้องการของกองทัพไทยเป็นอย่างมากและในตอนนั้นเองเธอก็ตระเวนข้อมูลหาซื้อเครื่องจักรตามโรงงานที่ยกเลิกกิจการอีกหลายที่เพื่อหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับมา
และด้วยความช่างพูดช่างเจรจาและเก่งทางด้านภาษาจึงได้เข้าไปถามทหารชาวสหรัฐที่เข้ามาในเมืองไทยว่านตีนตะขาบรถถังหาซื้อได้จากไหนจนสามารถทราบที่อยู่และขอติดต่อซื้อเพื่อนำมาเสนอขายให้กับทางกองทัพในที่สุดและด้วยไหวพริบของเธอนั้นก็สามารถเข้าไปภายในโรงงานผลิตได้จนเป็นที่สำเร็จทั้งๆที่เป็นเขตหวงห้ามและเต็มไปด้วยระบบความปลอดภัยขั้นสูง
โดยคู่ค้าชาวอเมริกันก็เป็นคนเปิดเผยวิธีการผลิตและการดำเนินขั้นตอนต่างๆให้กับคุณนพรัตน์ฟัง โดยไม่คิดว่าผู้หญิงคนนี้นั้นจะสามารถจดจำทุกสิ่งทุกอย่างออกมาและนำแนวคิดเหล่านั้นมาก่อสร้างในเมืองไทยได้ โดยเธอนั้นก็ใช้วิธีการจดจำความรู้ขอเข้าห้องน้ำเป็นระยะเพื่อจดความรู้ที่ได้มาลงในแผ่นกระดาษก่อนนางกลับมาบอกสามีและร่วมกันก่อสร้างโรงงานในเมืองไทยตามแบบฉบับของอเมริกา
และก็มีเรื่องขบขันอย่างหนึ่งคือระหว่างที่ธุรกิจของชัยเสรีนั้นกำลังไปได้ด้วยสวยวันหนึ่งฝรั่งเจ้าของโรงงานที่เธอเคยไปนั้นได้มาเยี่ยมเยียนที่เมืองไทยและขอเข้าชมโรงงานซึ่งตอนแรกคุณนพรัตน์ก็กลัวว่าเขาจะรู้ว่าเป็น Copy ของเขามาแต่กลับกลายเป็นว่าลูกค้าฝรั่งรายนี้ประทับใจในนพรัตน์เป็นอย่างมากถึงขั้นบอกว่าหากงานประมูลครั้งหน้าพลาด ก็จะเลิกกิจการและขายเครื่องจักรทั้งหมดให้กับคุณนพรัตน์ทันที
โดยในตอนนั้นเธอก็ปฏิเสธพร้อมกับบอกว่ามีเงินแค่เพียงที่ 25 ล้านบาท โดยเธอนั้นก็ทำการโอนให้ไปก่อนแล้วก็ให้เครื่องจักรในราคานั้นมา ซึ่งทางนั้นเขาก็โอเค โดยคุณนพรัตน์ก็ได้นำคนงานไปประมาณ 15 คนพร้อมกับตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 2 ตู้เพื่อเรียนรู้การใช้งานประมาณ 7 วันก่อนที่จะขนย้ายเครื่องจะกลับมายังประเทศไทย แต่สุดท้ายเธอก็ได้เครื่องจักรทั้งหมดประมาณ 45 ตู้และกินนอนอยู่ในโรงงานถึง 45 วันเลยทีเดียวโดยในตอนนั้นทางนั้นเขาให้มาหมดทุกอย่างไม่ว่า แบบพิมพ์ เครื่องอัดยาง เครื่องขึ้นรูปผลิตตีนตะขาบ
และการได้รับเครื่องจ่ายเป็นจำนวนมากก็ทำให้คุณนพรัตน์นั้นรู้สึกเป็นทุกข์และรู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นนักฉวยโอกาสเอาเปรียบมิตรสหายเกินไปแถมยังถูกสามีดุว่าทำอะไรเกินตัว ไม่รู้จักประเมินกำลังและความสามารถของบริษัทจึงทำให้รู้สึกกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยทีเดียว แต่สุดท้ายประสิทธิภาพและกำลังการผลิตของโรงงานชัยเสรีนั้นก็สามารถทะเยอทะยานเติบโตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยได้เป็นเท่าตัวและเธอก็ต้องรับผิดชอบโอกาสที่เธอไขว่คว้ามาได้ด้วยการตะเวนหาคู่ ค้าในต่างประเทศ
โดยท้ายที่สุดชัยเสรีนั้นก็ได้รับการติดต่อจากมหาอำนาจอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาและเจรจาทางธุรกิจอย่างลงตัวจนสามารถเซ็นสัญญา ผลิตชิ้นส่วนยางติดเหล็ก ข้อต่อสายพาน ล้อกดสายพาน เพื่อติดตั้งให้กับรถถังเขาทั้งหมด ได้เป็นที่สำเร็จ จึงทำให้กิจการไชยเสรีนั้นเติบโตรุ่งเรืองและมีโอกาสได้สะสมอะไรจากค่ายทหารในหลากหลายประเทศที่ปลดประจำการ อีกทั้งยังมีความสามารถในการซ่อมคืนสภาพหรือผลิตใหม่ได้
และผลงานที่สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับชัยเสรีนั่นก็คือการผลิตรถหุ้มเกราะ First Win ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนามากกว่า 10 ปีโดยได้ประสบการณ์จากการซ่อมรถในกองทัพมาอย่างยาวนานและคุณนพรัตน์ก็มีความรู้สึกว่ารถที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้นไม่เหมาะสมกับสภาพในเมืองไทยจึงเป็นที่มาในการสร้างสรรค์ออกแบบ First Win คืนนั้นเองและวัสดุทุกอย่างนั้นถูกประกอบและผลิตในประเทศไทยทั้งนั้นเว้นแต่เพียงเครื่องยนต์เท่านั้นที่นำเข้าจากสหรัฐและด้วยสิ่งที่มาจากประเทศไทยจึงทำให้มีราคาที่ถูกกว่ารถนำเข้ามากถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งปัจจุบัน First win ได้มีประจำการอยู่ในกองทัพไทยและกรมสอบสวนพิเศษหน่วยรบการปราบปรามยาเสพติดและหน่วยกรมราชทานอีกทั้งในต่างประเทศนั้นก็ยังกลายเป็นรถกองทัพที่มาเลเซียให้ความเชื่อมั่นและสั่งซื้อไปถึง 200 คัน คุณนพรัตน์ก็ได้มีการทิ้งท้ายว่า จุดชี้ขาดในการทำธุรกิจนั้นก็คือความเป็นมนุษย์ก็คือความจริงใจและใส่ใจกับสิ่งที่รู้รอบข้างโดยไม่หวังเพียงแค่ประโยชน์ส่วนตนเท่านั้นและต้องเอาจริงเอาจังและฝึกฝนตัวเองไปสู่ความสำเร็จไม่หลงในตัวเองและมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำ…นั้นเอง